Categories
Blog

CROSS BORDER คืออะไร? สำคัญอย่างไร?

CROSS BORDER คืออะไร? สำคัญอย่างไร?

​CROSS BORDER คือ การค้าข้ามแดน หรือการค้าผ่านแดน เป็นอีกหนึ่งช่องทางของการขนส่งทางโลจิสติกส์ในการนำเข้า-ส่งออกสินค้าจากประเทศต่าง ๆ การค้าผ่านแดน รวมไปถึงการ จัดการพิธีการต่างๆ ระว่างประเทศที่มีพรมแดนติดกันกับผู้ส่งออก หรือ แม้กระทั้ง การยินยอมให้มีสินค้าผ่านเขตอาณาจักรของตนเพื่อส่งออกไปประเทศที่สาม เพื่อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ตามความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่กำหนดไว้ของประเทศนั้นๆ อย่างเคร่งครัด

ตัวอย่างของการค้าข้ามแดน หรือการค้าผ่านแดน
กรณีการขนส่งสินค้า ผ่านแดน จากประเทศไทยไปยังประเทศสิงคโปร์จะต้องผ่าน ประเทศมาเลเซียก่อน จึงผ่านแดนต่อไปยังสิงคโปร์ได้ มีขั้นตอนในการดำเนิน การในฝั่งประเทศไทยดังต่อไปนี้
1. จัดใบส่งสินค้าขาออก
2. จัดทำใบบัญชีสินค้า
3. จัดทำบัญชีสินค้า (ศ.บ.3)
4. ผ่านศุลกากร ได้รับใบขนส่งสินค้าและตรวจสอบแล้ว โดยกรมศุลกากร
5. ตรวจปล่อยสินค้า และ ผูกตราศุลกากร
6. รับบรรทุกการส่งสินค้านอกราชอาณาจักรไทย
7. ส่งมอบเอกสารสำเนาตรวจปล่อยให้กับผู้ขนสินค้าหรือผู้ขนส่ง เพื่อนำไปดำเนินการผ่านแดนต่อไป

กรณีการดำเนินการนำเข้าสินค้าเพื่อส่งออกผ่านแดน ผ่านทางประเทศมาเลเซียไปยังสิงคโปร์มีเงื่อนไขและขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ต้องจัดทำใบนำเข้าสินค้านำเข้าผ่านแดนตามแบบฟอร์ม หมายเลข 8 พร้อมยื่นเอกสารส่งออกที่ผ่านการตรวจสอบแล้วจากศุลกากรไทยประกอบด้วย โดยเอกสารนี้จะต้องมีการสำแดงท่าปลายทางที่จะส่งไป
2. ต้องส่งด้วย รถบรรทุก หรือ รถบรรทุกคอนเทนเนอร์ แบบทึบ เท่านั้น
3. ต้องเชื่อมคัทซี(โครงสร้างของรถบรรทุก)กับคอนเทนเนอร์ต่อกันทุกครั้ง/ทุกคัน
4. จะต้องขนส่งด้วยเส้นทางที่ประเทศมาเลเซียกำหนดเท่านั้น
5. รถขนส่งใด ๆ จะต้องเป็นรถที่ได้รับการอนุญาตแล้วเท่านั้น

หลักกฎหมายที่ควรทราบในการนำเข้าหรือส่งออกผ่านแดน ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469
การส่งออก
มาตรา 45บัญญัติว่า “ก่อนการส่งของใดๆออกนอก ราชอาณาจักร ส่งออกจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตาม พระราชบัญญัติ และตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง กับกรมศุลกากร กับต้องยื่นใบขนสินค้าโดยถูกต้อง และ เสียภาษีอากรจนครบถ้วน หรือวางเงินไว้เป็นประกัน การขอวางเงินประกันให้เป็นไปตามที่อธิบดีกำหนด

ในกรณีที่มีการร้องขอและอธิบดีเห็นว่าของใดมีความจำเป็นที่ จะต้องส่งออกนอกราชอาณาจักรโดยรีบด่วน อธิบดีมี อำนาจให้ส่งของนั้นออกไปได้โดยยังไม่ต้องปฏิบัติ ตาม วรรคหนึ่งก่อน แต่ต้องปฏิบัติตามอธิบดีกำหนด และใน กรณีที่อาจจะต้องเสียภาษีอากร ให้วางเงินหรือหลักประกันอย่างอื่นเป็นที่พอใจอธิบดีเพื่อเป็นประกันค่าภาษี อากรด้วย ”

การนำเข้า

มาตรา 40 บัญญัติว่า “ก่อนจะนำของใดๆไปจากอารักขา ศุลกากร ผู้นำเข้าต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามพระราช บัญญัตินี้ และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากร กับ ต้องยื่นใบขนสินค้าโดยถูกต้อง และเสียภาษีอากรจนครบ ถ้วน หรือวางเงินไว้เป็นประกัน การขอวางเงินประกันให้ เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด

ในกรณีที่มีการร้องขอและอธิบดีเห็นว่าของใดมีความจำเป็นที่ จะต้องนำออกนอกอารักขาศุลกากรโดยรีบด่วน อธิบดีมี อำนาจให้นำของนั้นไปจากอารักขาศุลกากรได้โดยยังไม่ ต้องปฏิบัติตามวรรคหนึ่งก่อน แต่ต้องปฏิบัติตามอธิบดี กำหนด และในกรณีที่อาจจะต้องเสียภาษีอากร ให้วางเงินหรือหลักประกันอย่างอื่นเป็นที่พอใจอธิบดีเพื่อเป็น ประกันค่าภาษี อากรด้วย ”

การเสียภาษี

– มาตรา 10 บัญญัติว่า บรรดาค่าภาษีนั้น ให้เก็บตามพระราช บัญญัตินี้และตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราอากร การเสียภาษี อากรให้เสียแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้
– มาตรา 10 ทวิบัญญัติว่า “ความรับผิดในอันที่ต้องเสีย ภาษีสำหรับ ของที่นำเข้าเกิดขึ้นในเวลาที่นำของเข้าสำเร็จ
– มาตรา 10ตรีบัญญัติว่า “ความรับในอันจะต้องเสีย ภาษีสำหรับของที่ส่งออกเกิดในเวลาที่ส่งของออกสำเร็จ การคำนวณค่าภาษีให้ถือตามสภาพของราคาของ และพิกัด อัตราศุลกากรที่เป็นอยู่ในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้

ท่านำเข้า-ส่งออก

มาตรา 4 บัญญัติว่า “เพื่อความประสงค์แห่งการนำของเข้า หรือส่งของออกศุลกากร ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวง
1. กำหนดท่า หรือที่ใดๆในราชอาณาจักรให้เป็นท่าหรือที่ สำหรับการนำเข้าหรือส่งออก ของประเภทใดๆ หรือทุกประเภททางทะเล หรือทางบก หรือทางอากาศ ให้เป็นท่าหรือที่สำหรับขอคืนอากรของที่ทัณฑ์บน ทั้งนี้โดยมีเงื่อนไขตามแต่จะเห็นสมควร
2. กำหนดสนามบินใดๆในราชอาณาจักรให้เป็นสนามบิน ศุลกากร โดยมีเงื่อนตามแต่จะเห็นสมควร
3. ระบุเขตศุลกากร ณ ท่าใด หรือที่ใด หรือสนามบินใดซึ่งกำหนดไว้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *